1.ทำไมถึงเรียก CHINA – ไชน่า ว่า จีน มี คำอธิบายจากนักเขียน-นักแปล โชติช่วง นาดอน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนว่า ชาวไทยในแหลมทองรู้จักคำว่า จีน มานานแล้ว ในโคลงเรื่อง ท้าวฮุ่ง หรือ เจือง ตอนที่กล่าวถึงดินแดนต่างๆ ก็แยกชัดเจนระหว่างจีนกับฮ่อ และสำหรับชาวไทย ใช้คำ จีน – CINA-CHINE-CHINA แพร่หลายมากที่สุด
ตำรา เรียนและหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เขียนสมมติฐานที่ว่า ชื่อประเทศจีน มาจากชื่อรัฐ ฉิน ของจิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉินสื่อหวง) สำหรับชื่อที่ต่างชาติ เรียกจีน ว่า จีน มาจากคำว่า จีนะ ซึ่งพบในอักษรสันสกฤตโบราณด้วย
อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ เรียกจีนว่า จีนะ แล้วแพร่หลายถึงยุโรป กรทั่งเรียกประเทศจีนว่าCHINA สืบเนื่องมาถึงทุกวันนี้ ขณะที่เอกสารของกรีกและโรมัน มีคำเรียกประเทศจีนอีกคำหนึ่งว่า Serice อธิบายกันว่าหมายถึงประเทศแห่งผ้าไหม และเรียกชาวจีนว่าSEREE
ส่วน กลุ่มประเทศมุสลิมยุคนั้นเรียกจีนว่า TEMGHAJ, TOMGHAJ, TOHGAJ ซึ่งเชื่อว่ามาจาก สกุลของ ฮ่องเต้ราชวงศ์เป่ยเว่ย (ค.ศ. 386-534) ที่ภาษาจีนเรียกว่า ถาป่า
2.เรียก JAPAN – เจแปน ว่า ญี่ปุ่น เว็ปไซต์อุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ (TK PARK) มีข้อมูลว่า คำว่า ญี่ปุ่น ไทยรับจากคนจีน
เช่น ภาษาแต้จิ๋ว เรียกว่า หยิบปึ้ง ภาษากวางตุ้ง เรียกว่า ยาตปุน ภาษาฮกเกี้ยนเรียก ยิต-ปุน ยัง มีเรียก ยื่อเปิ่น ด้วย คนไทยฟังไม่ชัดเลยกลายมาเป็นญี่ปุ่นในทุกวันนี้ ส่วนคำว่า เจแปน พวกโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายทางเอเชียตอนแรกๆ เรียกตามภาษาจีนท้องถิ่นโดยเพี้ยนเป็น จาปอง
3. เรียก MYANMAR – เมียนมาร์ ว่า พม่า ราชบัณฑิตยสถานอรรถาธิบายว่า พม่าเปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการมาแล้วหลายครั้งหลังจากได้เอกราช พ.ศ. 2491 ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The Union Of Burma.
กระทั่ง ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น The Union of Myanmar คำว่าMyanmar เมื่อถอดอักษรโรมันเป็นอักษรไทย ออกเสียงตามตัวเขียนว่า มยันมาร์ หรือ มยันม่าร์ แต่ พม่าไม่มีเสียงพยัญชนะ ร และ ง ถ้าคำใดมี ร และ ง จะออกเสียงเป็น ย และ น แทน เช่น ร่างกุ้ง เป็น ยานกูน หรือ อิระวดี เป็น อิยาวดี เป็นต้น
คำว่า Myanmar ถอดตามตัวอักษรไทยเป็น มรันมา ขณะที่เจ้าของภาษาออกเสียงฟังได้ทั้ง เหมี่ยนหม่า และเมียนม่า กรณี นี้กระทรวงการต่างประเทศหารือกับ ราชบัณฑิตยสถานว่าสมควรจะกำหนดการเรียกชื่อประเทศพม่าที่ได้เปลี่ยนชื่อ ภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการนี้อย่างไร ราชบัณฑิตยสถานโดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยเห็นว่า คน ไทยรู้จักและมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับประเทศนี้ในชื่อ พม่า มาแต่โบราณกาล จึงเห็นควรให้เรียกชื่อนี้อย่างเป็นทางการว่า สหภาพพม่า ตามที่เคยใช้มาแต่เดิม......
4. เรียก CAMBODIA – แกมโบเดีย ว่า กัมพูชา อาจารย์ศานติ ภักดีคำ ภาคภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่า เราเรียกชื่อประเทศเพื่อนบ้านเราตามเอกสารโบราณสมัยอยุธยา ซึ่งก็มีการบันทึกว่า กรุงกัมพูชาแล้ว เพราะ ฉะนั้นถึงแม้ปัจจุบันชื่อจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรในภาษาอังกฤษ แต่ประเทศ กัมพูชาที่ไทยเรียกก็คงอ่านตามรูปคำเขียนโบราณที่มีบันทึกอยู่ในอดีตที่เรา คุ้นเคย
5. เรียก FRANCE – ฟรานซ์ ว่า ฝรั่งเศส โดยที่ ฝรั่งเศส เรียกประเทศตัวเองว่า ฟร้องซ์ คนฝรั่งเศส ผู้ชายหรือ ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ฟรองเซส์ (เพศหญิง เรียก ฟรองแซสFRANCAISE ) คำเรียกฝรั่งเศสของเราออกตามเสียงอ่านแบบฝรั่งเศส [b]