ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยจักรวาลหายไปไหน
(ปลด "ดาวพลูโต" เป็นแค่"ดาวเคราะห์แคระ)
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2549 มีการประกาศจากที่ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Unions : IAU) ซึ่งกำลังประชุมกันอยู่ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก โดย ประกาศให้ "ดาวพลูโต" ดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดในระบบสุริยจักรวาล หนึ่งในสมาชิกของดาวนพเคราะห์ หลุดพ้นจากความเป็น "ดาวเคราะห์" ไป ส่งผลให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเหลืออยู่เพียง 8 ดวงเท่านั้น ประกอบด้วย ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวมฤตยู, และดาวเกตุ
ดาวพลูโตที่ถูกค้นพบในปี 1930 ซึ่งค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา (Lowell Observatory in Flagstaff, Arizona) ปกคลุมด้วยหิน 70% และน้ำแข็ง 30% จากการศึกษาสเปคตรัมของแสงจากดาวพลูโต พบว่าส่วนที่สะท้อนแสงปกคลุมไปด้วยไนโตรเจน มีเธน อีเธน และคาร์บอนมอนอกไซด์ พบว่า ทั้ง 4 อยู่ในสถานะของแข็ง
เหตุผลที่ดาวพลูโตไม่ถูกจัดให้เป็น ดาวเคราะห์ เนื่องจากมีองค์ประกอบไม่ครบตามคำนิยามใหม่ของ ดาวเคราะห์ ที่ว่าด้วย
1. เป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (โคจรรอบดวงอาทิตย์) แต่ตัวเองต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์
2. มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ทำให้ตัวเองกลมหรือเกือบจะกลม
3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวข้างเคียง
แต่ ดาวพลูโตนั้นวงโคจรนอกจากจะเอียงทำมุมกับแนวระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่อีก 8 ดวงแล้ว วงโคจรของดาวพลูโตยังทับซ้อนอยู่ในวงโคจรของดาวเนปจูน ที่เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ของระบบสุริยะอีกด้วย
จากองค์ประกอบของดาวพลูโตที่มีอยู่ เมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับคำนิยามของ ดาวเคราะห์แคระ ที่ว่าด้วย
1. โคจรรอบดวงอาทิตย์
2. มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะเป็นวงกลม
3. วงโคจรไม่ชัดเจน ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรที่ชัดเจน
จะมีความสอดคล้องมากกว่า ดังนั้นจึงทำให้ ดาวพลูโต ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ดาวเคราะห์แคระ"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ดวงดาวของระบบสุริยะ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มดาวเคราะห์ปกติ (Classical Planet) มี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลกและ ดวงจันทร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน
2. กลุ่มดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) มี ดาวพลูโต และดาวที่อยู่ระหว่างการศึกษาอีกหลายดวง
3. กลุ่มวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System Bodies) มีดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ
(ปลด "ดาวพลูโต" เป็นแค่"ดาวเคราะห์แคระ)
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2549 มีการประกาศจากที่ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู (International Astronomical Unions : IAU) ซึ่งกำลังประชุมกันอยู่ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก โดย ประกาศให้ "ดาวพลูโต" ดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดในระบบสุริยจักรวาล หนึ่งในสมาชิกของดาวนพเคราะห์ หลุดพ้นจากความเป็น "ดาวเคราะห์" ไป ส่งผลให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเหลืออยู่เพียง 8 ดวงเท่านั้น ประกอบด้วย ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวมฤตยู, และดาวเกตุ
ดาวพลูโตที่ถูกค้นพบในปี 1930 ซึ่งค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์ (Clyde Tombaugh) แห่งหอดูดาวโลเวล รัฐอริโซนา (Lowell Observatory in Flagstaff, Arizona) ปกคลุมด้วยหิน 70% และน้ำแข็ง 30% จากการศึกษาสเปคตรัมของแสงจากดาวพลูโต พบว่าส่วนที่สะท้อนแสงปกคลุมไปด้วยไนโตรเจน มีเธน อีเธน และคาร์บอนมอนอกไซด์ พบว่า ทั้ง 4 อยู่ในสถานะของแข็ง
เหตุผลที่ดาวพลูโตไม่ถูกจัดให้เป็น ดาวเคราะห์ เนื่องจากมีองค์ประกอบไม่ครบตามคำนิยามใหม่ของ ดาวเคราะห์ ที่ว่าด้วย
1. เป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (โคจรรอบดวงอาทิตย์) แต่ตัวเองต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์
2. มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium) ทำให้ตัวเองกลมหรือเกือบจะกลม
3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวข้างเคียง
แต่ ดาวพลูโตนั้นวงโคจรนอกจากจะเอียงทำมุมกับแนวระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่อีก 8 ดวงแล้ว วงโคจรของดาวพลูโตยังทับซ้อนอยู่ในวงโคจรของดาวเนปจูน ที่เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ของระบบสุริยะอีกด้วย
จากองค์ประกอบของดาวพลูโตที่มีอยู่ เมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับคำนิยามของ ดาวเคราะห์แคระ ที่ว่าด้วย
1. โคจรรอบดวงอาทิตย์
2. มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะเป็นวงกลม
3. วงโคจรไม่ชัดเจน ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรที่ชัดเจน
จะมีความสอดคล้องมากกว่า ดังนั้นจึงทำให้ ดาวพลูโต ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ดาวเคราะห์แคระ"
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ดวงดาวของระบบสุริยะ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มดาวเคราะห์ปกติ (Classical Planet) มี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลกและ ดวงจันทร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน
2. กลุ่มดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planets) มี ดาวพลูโต และดาวที่อยู่ระหว่างการศึกษาอีกหลายดวง
3. กลุ่มวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System Bodies) มีดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ