จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้ อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้ อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง
หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึงเสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตุเรื่องราวนานาประการที่แปลก ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ
เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑)
ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตุ และรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้
ตอนที่หนึ่งราชอาณาจักรสยาม
๑. เหตุใดราชอาณาจักรนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก การเดินเรือได้ช่วยให้เรารู้จักตำบลชายฝั่งของอาณาจักรนี้บ้าง และมีผู้เขียนไว้บ้างแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แทบจะไม่รู้เรื่องราวกันเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ขึ้นไว้ หรือหากทำไว้ก็คงปกปิดไว้เป็นความลับ แผนที่ที่เขานำมาแสดง เป็นงานของชาวยุโรปผู้หนึ่งทำไว้ โดยได้ทวนแม่น้ำไปถึงอาณาเขต
๒. พรมแดนด้านเหนือ ไปถึงองศาที่ ๒๒ และโดยที่อ่าวสยามอยู่ที่ ๑๓ องศา ดังนั้ขนาดของพื้นที่จะตกประมาณ ๑๗๐ ลี้ ตามวัดขึ้นไปเป็นเส้นตรง โดยคิด ๒๐ ลี้ต่อองศาละติจูด (ลี้กิโลเมตริก ๔ กิโลเมตร ลี้บก ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ลี้ทะเล ๕,๕๕๖ กิโลเมตร)
๓. เชียงใหม่ และทะเลสาบ ชาวสยามกล่าวว่าเชียงใหม่อยู่ ห่างจากพรมแดนราชอาณาจักรขึ้นไป ระยะเดินทาง ๑๕ วัน (๖๐ - ๗๐ ลี้) การนับวันคือ การเดินเรือทวนน้ำ มีผู้เล่าว่าเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา พระเจ้าอยู่หัวได้ยกทัพไปตีเมืองนั้นแล้วทิ้งให้ร้าง โดยกวาดต้อนคนมาหมด ต่อจากนั้นว่าพระเจ้าอังวะ ซึ่งเมืองพะโค เป็นเมืองขึ้นได้มาส้องสุมผู้คนขึ้นใหม่ แต่ชาวสยามที่ขึ้นไปในกองทัพครั้งนั้น ไม่มีใครได้เห็น หรือรู้ว่ามีทะเลสาบลือนาม ซึ่งนักภูมิศาสตร์ของเราระบุว่าเป็นต้นแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อทวนน้ำขึ้นไปต้นน้ำประมาณ ๕๐ ลี้ ก็มีลำน้ำพอที่เรือขนาดย่อม ๆ จะผ่านขึ้นไปได้เท่านั้น
๔. ประเทศสยามเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีอาณาเขตกันด้วยภูเขาสูง ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกจรดทิศเหนือ แบ่งเขตกับราชอาณาจักรลาว ทางทิศเหนือกับทิศตะวันตกก็มีภูเขากั้น แบ่งเขตกับราชอาณาจักรพะโคและอังวะ ระหว่างเทือกเขาทั้งสอง (มีคนอาศัยอยู่น้อย เป็นคนป่าและยากจนแต่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร) เป็นที่ราบใหญ่ บางตอนกว้าง ๕๐ - ๑๐๐ ลี้ มีแม่น้ำไหลผ่านไหลลงอ่าวสยาม แยกออกเป็นสามแคว
๕. เมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายนี้ ลึกจากปากน้ำ ๗ ลี้ เป็นเมืองบางกอก ชาวสยามไม่นิยมปลูกเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลนัก มักชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ ที่ขึ้นล่องสะดวกแก่การค้าทางทะเล ชื่อตำบลมักขึ้นต้นด้วยบ้าน
๖. สวนผลไม้บางกอก มีอาณาบริเวณยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ถึง ๔ ลี้ จรดตลาดขวัญ
๗. เมืองอื่น ๆ บนฝั่งแม่น้ำ ตำบลสำคัญคือ แม่ตาก เป็นเมืองเอก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนพายัพ ถัดไปเป็นเมืองเทียนทอง (เชียงทอง) กำแพงเพชร (กำแปง) แล้วถึงเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางกอก ถึงทางชัยนาทกับสยามค่อนไปทางตะวันออกเป็นเมืองละโว้ ตรงละติจูด ๑๔ ๔๒ ๓๒ ตามที่บาทหลวงเยซูฮิตได้คำนวณไว้ พระเจ้ากรุงสยาม โปรดไปอยู่เมืองนั้นเกือบตลอดปี เมืองเทียนทองร้างไปคงเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพระโค
๘. ลำน้ำที่เรียกแม่น้ำเหมือนกัน ที่เมืองนครสวรรค์ เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเหนือ นักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสบอกว่าไหลจากทะเลสาบเชียงใหม่ แต่ยืนยันว่าต้นน้ำมาจากเทือกเขา ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองขึ้นไปไม่ไกลนัก ไหลผ่านเมืองฝาง พิชัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และบรรจบกับแม่น้ำสายอื่น
เมืองพิษณุโลก มีเจ้าสืบวงศ์เช่นเมืองตากมีการค้าขายมาก มีหอรบ ๑๔ แห่งอยู่ละติจูด ๑๙
เมืองนครสวรรค์ อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกกับเมืองสยาม (อยุธยา) ระยะทางขาขึ้น ๒๕ วัน โดยทางเรือ แต่อาจร่นมาเป็น ๑๒ วัน ถ้ามีฝีพาย และพายอย่างรีบเร่ง
๙. เมืองไม้ เมืองเหล่านี้ไม่ผิดกับเมืองอื่น ๆ ในสยามคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบด้วยรั้วไม้เสา บางทีมีกำแพงหินและอิฐ แต่มีน้อย
๑๐. ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝาง เพราะเมืองนั้นเป็นที่เก็บพระทันตธาตุ ชาวสยามจึงสร้างวิหารเจดีย์ไว้เพื่อบูชา บางคนเรียกเมืองพัน ทำให้มีชาวพะโค (มอญ) และชาวลาว นอกจากชาวสยามมาชุมนุมนมัสการด้วย
๑๑. ความเชื่อที่พระบาท อยู่ห่างเมืองละโว้ไปทางตะวันออก ๕ - ๖ ลี้
๑๒. พระบาทคืออะไร คือพิมพ์เท้ามนุษย์ โดยฝีมือช่างสลักอย่างหยาบ ๆ ลงในหิน ลึก ๑๓ - ๑๔ นิ้ว ยาวกว่าเท้าคนทั่วไป ๕ - ๖ เท่า กว้างทำนองเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปนมัสการเป็นประจำทุกปี โดยขบวนพยุหยาตราเป็นพระราชพิธีใหญ่ พระพุทธบาทหุ้มด้วยแผ่นทองคำ อยู่ในมหามณฑปที่สร้างสวมไว้ ตามคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ พระบาทนี้เพิ่งมีตำนานมาได้ไม่เกิน ๙๐ ปี
๑๓. มูลเหตุความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้ คนสยามเป็นเพียงนักลอกแบบที่หยาบ ๆ พงศาวดารอินเดียได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงสิงหฬ (ซีลอน) องค์หนึ่งได้สงวนเขี้ยวลิงตัวหนึ่งไว้ด้วยความนับถือยิ่งยวด ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระองค์พยายามไถ่คืนจากอุปราชแห่งอินเดียว ซึ่งยึดเขี้ยวนั้นมาจากชาวอินเดีย แต่ไม่เป็นผล อุปราชอินเดียได้เผาเขี้ยวนั้นแล้วทิ้งแม่น้ำไป
๑๔. อะไรคือรอยเท้าอาดัมในลังกา ชาวปอร์ตุเกศเรียกรอยเท้าในสิงหลว่า เท้าอาดัม และพวกเขาเชื่อว่าลังกานั้นคือ สวนสวรรค์ในไบเบิล
เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้ อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้ อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง
หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึงเสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตุเรื่องราวนานาประการที่แปลก ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ
เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑)
ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตุ และรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้
ตอนที่หนึ่งราชอาณาจักรสยาม
๑. เหตุใดราชอาณาจักรนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก การเดินเรือได้ช่วยให้เรารู้จักตำบลชายฝั่งของอาณาจักรนี้บ้าง และมีผู้เขียนไว้บ้างแล้ว แต่ในส่วนที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน แทบจะไม่รู้เรื่องราวกันเลย เพราะชาวสยามไม่ได้ทำแผนที่ขึ้นไว้ หรือหากทำไว้ก็คงปกปิดไว้เป็นความลับ แผนที่ที่เขานำมาแสดง เป็นงานของชาวยุโรปผู้หนึ่งทำไว้ โดยได้ทวนแม่น้ำไปถึงอาณาเขต
๒. พรมแดนด้านเหนือ ไปถึงองศาที่ ๒๒ และโดยที่อ่าวสยามอยู่ที่ ๑๓ องศา ดังนั้ขนาดของพื้นที่จะตกประมาณ ๑๗๐ ลี้ ตามวัดขึ้นไปเป็นเส้นตรง โดยคิด ๒๐ ลี้ต่อองศาละติจูด (ลี้กิโลเมตริก ๔ กิโลเมตร ลี้บก ๔,๔๔๔ กิโลเมตร ลี้ทะเล ๕,๕๕๖ กิโลเมตร)
๓. เชียงใหม่ และทะเลสาบ ชาวสยามกล่าวว่าเชียงใหม่อยู่ ห่างจากพรมแดนราชอาณาจักรขึ้นไป ระยะเดินทาง ๑๕ วัน (๖๐ - ๗๐ ลี้) การนับวันคือ การเดินเรือทวนน้ำ มีผู้เล่าว่าเมื่อ ๓๐ ปีที่ผ่านมา พระเจ้าอยู่หัวได้ยกทัพไปตีเมืองนั้นแล้วทิ้งให้ร้าง โดยกวาดต้อนคนมาหมด ต่อจากนั้นว่าพระเจ้าอังวะ ซึ่งเมืองพะโค เป็นเมืองขึ้นได้มาส้องสุมผู้คนขึ้นใหม่ แต่ชาวสยามที่ขึ้นไปในกองทัพครั้งนั้น ไม่มีใครได้เห็น หรือรู้ว่ามีทะเลสาบลือนาม ซึ่งนักภูมิศาสตร์ของเราระบุว่าเป็นต้นแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เมื่อทวนน้ำขึ้นไปต้นน้ำประมาณ ๕๐ ลี้ ก็มีลำน้ำพอที่เรือขนาดย่อม ๆ จะผ่านขึ้นไปได้เท่านั้น
๔. ประเทศสยามเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา มีอาณาเขตกันด้วยภูเขาสูง ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกจรดทิศเหนือ แบ่งเขตกับราชอาณาจักรลาว ทางทิศเหนือกับทิศตะวันตกก็มีภูเขากั้น แบ่งเขตกับราชอาณาจักรพะโคและอังวะ ระหว่างเทือกเขาทั้งสอง (มีคนอาศัยอยู่น้อย เป็นคนป่าและยากจนแต่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับใคร) เป็นที่ราบใหญ่ บางตอนกว้าง ๕๐ - ๑๐๐ ลี้ มีแม่น้ำไหลผ่านไหลลงอ่าวสยาม แยกออกเป็นสามแคว
๕. เมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายนี้ ลึกจากปากน้ำ ๗ ลี้ เป็นเมืองบางกอก ชาวสยามไม่นิยมปลูกเรือนอยู่ตามชายฝั่งทะเลนัก มักชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ ที่ขึ้นล่องสะดวกแก่การค้าทางทะเล ชื่อตำบลมักขึ้นต้นด้วยบ้าน
๖. สวนผลไม้บางกอก มีอาณาบริเวณยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ ถึง ๔ ลี้ จรดตลาดขวัญ
๗. เมืองอื่น ๆ บนฝั่งแม่น้ำ ตำบลสำคัญคือ แม่ตาก เป็นเมืองเอก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหนพายัพ ถัดไปเป็นเมืองเทียนทอง (เชียงทอง) กำแพงเพชร (กำแปง) แล้วถึงเมืองนครสวรรค์ ชัยนาท ตลาดขวัญ ตลาดแก้ว และบางกอก ถึงทางชัยนาทกับสยามค่อนไปทางตะวันออกเป็นเมืองละโว้ ตรงละติจูด ๑๔ ๔๒ ๓๒ ตามที่บาทหลวงเยซูฮิตได้คำนวณไว้ พระเจ้ากรุงสยาม โปรดไปอยู่เมืองนั้นเกือบตลอดปี เมืองเทียนทองร้างไปคงเนื่องจากสงครามเก่าแก่กับพระโค
๘. ลำน้ำที่เรียกแม่น้ำเหมือนกัน ที่เมืองนครสวรรค์ เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเหนือ นักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสบอกว่าไหลจากทะเลสาบเชียงใหม่ แต่ยืนยันว่าต้นน้ำมาจากเทือกเขา ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองขึ้นไปไม่ไกลนัก ไหลผ่านเมืองฝาง พิชัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และบรรจบกับแม่น้ำสายอื่น
เมืองพิษณุโลก มีเจ้าสืบวงศ์เช่นเมืองตากมีการค้าขายมาก มีหอรบ ๑๔ แห่งอยู่ละติจูด ๑๙
เมืองนครสวรรค์ อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกกับเมืองสยาม (อยุธยา) ระยะทางขาขึ้น ๒๕ วัน โดยทางเรือ แต่อาจร่นมาเป็น ๑๒ วัน ถ้ามีฝีพาย และพายอย่างรีบเร่ง
๙. เมืองไม้ เมืองเหล่านี้ไม่ผิดกับเมืองอื่น ๆ ในสยามคือเป็นหมู่เรือนจำพวกกระท่อม ล้อมรอบด้วยรั้วไม้เสา บางทีมีกำแพงหินและอิฐ แต่มีน้อย
๑๐. ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมืองฝาง เพราะเมืองนั้นเป็นที่เก็บพระทันตธาตุ ชาวสยามจึงสร้างวิหารเจดีย์ไว้เพื่อบูชา บางคนเรียกเมืองพัน ทำให้มีชาวพะโค (มอญ) และชาวลาว นอกจากชาวสยามมาชุมนุมนมัสการด้วย
๑๑. ความเชื่อที่พระบาท อยู่ห่างเมืองละโว้ไปทางตะวันออก ๕ - ๖ ลี้
๑๒. พระบาทคืออะไร คือพิมพ์เท้ามนุษย์ โดยฝีมือช่างสลักอย่างหยาบ ๆ ลงในหิน ลึก ๑๓ - ๑๔ นิ้ว ยาวกว่าเท้าคนทั่วไป ๕ - ๖ เท่า กว้างทำนองเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปนมัสการเป็นประจำทุกปี โดยขบวนพยุหยาตราเป็นพระราชพิธีใหญ่ พระพุทธบาทหุ้มด้วยแผ่นทองคำ อยู่ในมหามณฑปที่สร้างสวมไว้ ตามคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ พระบาทนี้เพิ่งมีตำนานมาได้ไม่เกิน ๙๐ ปี
๑๓. มูลเหตุความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้ คนสยามเป็นเพียงนักลอกแบบที่หยาบ ๆ พงศาวดารอินเดียได้บันทึกเรื่องพระเจ้ากรุงสิงหฬ (ซีลอน) องค์หนึ่งได้สงวนเขี้ยวลิงตัวหนึ่งไว้ด้วยความนับถือยิ่งยวด ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง พระองค์พยายามไถ่คืนจากอุปราชแห่งอินเดียว ซึ่งยึดเขี้ยวนั้นมาจากชาวอินเดีย แต่ไม่เป็นผล อุปราชอินเดียได้เผาเขี้ยวนั้นแล้วทิ้งแม่น้ำไป
๑๔. อะไรคือรอยเท้าอาดัมในลังกา ชาวปอร์ตุเกศเรียกรอยเท้าในสิงหลว่า เท้าอาดัม และพวกเขาเชื่อว่าลังกานั้นคือ สวนสวรรค์ในไบเบิล